เผยแพร่เมื่อ/created date: -

ดอกดินแดง

Aeginetia indica Linn.
ข้าวก่ำนกยูง ซอซวย สบแล้ง กะเปเส้ หญ้าดอกขอ ปากจะเข้ เพาะลาพอ
OROBANCHACEAE
ไม้ล้มลุก ลำต้นอยู่ใต้ดินขนาดเล็ก เป็นพืชอาศัยอยู่กับรากไม้ โดยเฉพาะกกหญ้าและไผ่ ใบเป็นเกล็ดขนาดเล็กที่โคนกอ สังเกตได้ยาก ออกเรียงสลับหรือตรงข้าม รูปคล้ายสามเหลี่ยมยาว 6-8 มม. ดอกผุดจากส่วนลำต้นใต้ดิน 1-2 ดอกต่อเหง้า ก้านดอกตรง ยาว 10-25 ซม. ดอกมีลักษณะเป็นถ้วยคว่ำ อ้วน ยาว 2-4 ซม. สีม่วงแดงผิวเกลี้ยงเป็นมัน กลีบรองดอกเป็นประกับหุ้มโคนดอก สีม่วงอมชมพูสีอ่อนกว่ากลีบดอก เกสรผู้ติดอยู่ที่โคนหลอด อับเรณูทั้ง 4 เชื่อมติดกัน ยอดเกสรเมียสีเหลือง มีลักษณะอวบน้ำและมีขนาดใหญ่ ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. เมล็ดสีขาว ขนาดเล็กมาก
พบตั้งแต่ตอนกลางของทวีปเอเชีย มาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปโดยเฉพาะบริเวณที่ค่อนข้างชื้นในป่าเต็งรัง ออกดอกและผลระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน
ดอกแห้งหรือดอกสด นำมาสกัดน้ำ ใช้เป็นสีผสมอาหารให้สีม่วง

หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2

-

3952 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: